On 10 May 2019, Mr. La Min or Mr. Ku Lha Min, a migrant worker from Myanmar received 345,384 baht as compensation for the loss of his right arm while working in a plastic factory in Samut Sakhon per the verdict of the Supreme Court. Human Rights and Development Foundation (HRDF) has been supporting his legal representation through the protracted period of eight years.
When Mr. La Min had his arm severed by the machine, he had no idea that he was entitled to compensation from either the Workmen’s Compensation Fund or his employer. As a result, he only applied for the fund with the Social Security Office (SSO) after the 180-day-deadline. Upon receiving his complaint, SSO, however, instructed the employer to provide the compensation to the worker. The employer claimed the worker intentionally cut his arm and had applied for compensation from SSO after 180 days since the day the injury was inflicted on him. After placing the amount equivalent to the compensation with the Labor Court, the employer has launched a litigation to challenge the SSO’s order. Even though the Court insisted that the employer was obliged to pay the compensation as instructed by SSO, the employer decided to appeal the verdict with the higher courts until the Supreme Court ruled in the verdict no. 3588/2561 read out by the Central Labor Court (Nonthaburi) on 17 September 2018 that;
“The co-defendant (Mr. La Min, a migrant worker from Myanmar) did not intentionally had his arm severed. As to the requirement per Section 49 of the Workmen’s Compensation Fund Act 1994 for the application of compensation to be filed within 180 days, it is only a clause to urge the employee to expediently exercise their right per Section 20. It cannot be cited as a reason to deprive the worker of the right to receive compensation as provided for by law. Therefore, even though the defendant had failed to apply for the compensation within 180 days from the day the injury was inflicted on him, his right to have the compensation continued to persist.”
Despite the Supreme Court’s order to have the employer provide the compensation since 17 September 2018, it has taken quite a long time before the employee has eventually received the amount. According to the previous procedure, an employee after the case has reached its final verdict can request for the compensation directly from the Court. But now, the SSO has to request for the money from the Court and then passes it on to the employee. As a result, Mr. La Min or Mr. Ku Lha Min only received the amount of 345,384 baht as compensation on 10 May 2019 from the Samut Sakhon SSO. It has basically taken Mr. La Min or Mr. Ku Lha Min nearly eight months from 17 September 2018 when the verdict was delivered by the Supreme Court until 10 May 2019 to receive the compensation. During that time, Mr. La Min or Mr. Ku Lha Min had to eke out his living using only his left arm to continue his legal fight to demand his right. From 14 August 2009, the day the injury was inflicted on him to the day he received the compensation, it took him nine years, eight months and 29 days such a staggeringly long time.
The Human Rights and Development Foundation (HRDF) also finds it a discrimination that SSO continues to disallow migrant workers in certain kinds of work from directly tapping into Workmen’s Compensation Fund when losing their organs as a result of their work. It impedes the access to such due compensation making the process complicated and time-consuming. Such redundant process has made several workers give up their effort to apply for the compensation. SSO should therefore repeal rules and regulations which impede access to the Workmen’s Compensation Fund according to ensure the spirit of the Workmen’s Compensation Fund Act 1994. Previous legal precedence affirms an employee’s direct access to the Workmen’s Compensation Fund including the verdicts of the Supreme Administrative Court in the case between Mr. Joe (without last name) and other, v. the Social Security Office (the verdict of the Supreme Administrative Court no. O821/2558 http://hrdfoundation.org/?p=1410&lang=en) and the Supreme Court of Justice in the case between Ms. Noom Maisaeng, an ethnic Shan worker from Myanmar v. Mr. Surin Chirawisit and other altogether 13 (Supreme Court of Justice no. 15582/2558 http://hrdfoundation.org/?p=1510&lang=en)
For more information, please contact
Ms. Janjira Janpaew, attorney 065 741 5395 email: junfullmoon@gmail.com
ใบแจ้งข่าว
แรงงานพม่าได้รับเงินค่าทดแทนกรณีแขนขาดจากการทำงาน 345,384 บาท
หลังต่อสู้คดีกับนายจ้างยืดเยื้อยาวนานมาเป็นเวลา 9 ปี 8 เดือน 29 วัน
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 นายราเมย์ หรือ นายกูล่าห์มิน แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ได้รับเงินทดแทนแขนขวาขาดเนื่องจากประสบอันตรายจากการทำงานในโรงงานพลาสติกย่านจังหวัดสมุทรสาคร โดยได้รับเงินค่าทดแทน 345,384 บาท ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา หลังจากมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) สนับสนุนทนายความในการให้ความช่วยเหลือต่อสู้คดีกับนายจ้างซึ่งยืดเยื้อยาวนานกว่าแปดปี
เมื่อนายราเมย์ ได้ประสบอันตรายถูกเครื่องจักรตัดแขนขาด แรงงานไม่ทราบว่าตนเองมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนหรือนายจ้าง จึงไปร้องเรียนสำนักงานประกันสังคมล่าช้าหลังจากพ้นกำหนด 180 วันไปแล้ว อย่างไรก็ตามสำนักงานประกันสังคม เมื่อได้รับคำร้องจากนายราเมย์ ก็มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนจำนวนดังกล่าวแก่แรงงาน แต่นายจ้างอ้างว่าแรงงานจงใจทำให้ตนเองแขนขาด และยื่นเรื่องเพื่อขอเงินทดแทนต่อสำนักงานประกันสังคมเกิน 180 วันนับแต่วันที่อ้างว่าประสบอุบัติเหตุ จึงได้วางเงินค่าทดแทนตามคำสั่งโดยวางไว้ต่อศาลแล้วฟ้องเพิกถอนคำสั่งสำนักงานประกันสังคมต่อศาลแรงงาน ต่อมาแม้ศาลแรงงานได้มีคำพิพากษาให้นายจ้างจ่ายเงินตามคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมแล้ว นายจ้างยังอุทธ์คำพิพากษาไปยังศาลฎีกาจนเมื่อวันทื่ 17 กันยายน 2561 ศาลแรงงานกลาง (นนทบุรี) ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2561ซึ่งมีคำพิพากษาว่า
“จำเลยร่วม (นายราเมย์ แรงงานชาวพม่า) ไม่ได้จงใจทำให้ตนเองประสบอันตรายมือขาด ส่วนระยะเวลาการยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 49 นั้น เป็นเพียงกำหนดเวลาเร่งรัดให้ลูกจ้างตามมาตรา 20 ใช้สิทธิโดยเร็วเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิของลูกจ้างตามกฎหมายที่จะได้รับเงินทดแทน ดังนั้นแม้จำเลยร่วมยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนเกิน 180 วัน นับแต่วันที่จำเลยร่วมประสบอันตราย จำเลยร่วมก็ยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามกฎหมาย”
อย่างไรก็ตามแม้ศาลฎีกาจะะได้มีคำพิพากษาตั้งแต่ 17 กันยายน 2561 ให้นายจ้างจ่ายเงิน แต่ลูกจ้างก็ยังต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะได้รับเงินตามคำพิพากษา แนวปฏิบัติเดิมลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินจากศาลได้ทันทีเมื่อคดีถึงที่สุด แต่ปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมต้องรับเงินจากศาลเพื่อนำไปจ่ายให้แก่ลูกจ้างอีกทอดหนึ่ง โดยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 นายราเมย์หรือนายกูล่าห์มิน เพิ่งได้รับเงินทดแทนจากสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาครตามคำพิพากษาดังกล่าวเป็นเงินทั้งสิ้น 345,384 บาทไปแล้ว ซึ่งนับแต่วันที่ 17 กันยายน 2561 อันเป็นวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 เป็นเวลาเกือบ 8 เดือนที่นายราเมย์หรือ นายกูล่าห์มินจะได้รับเงินทดแทนดังกล่าว ในคดีนี้เห็นได้ว่านายราเมย์หรือนายกูล่าห์มิน ได้อดทนทำงานมีเพียงมือซ้ายที่สามารถใช้งานได้ และต่อสู้เรียกร้องสิทธิของตนที่พึ่งได้จนคดีถึงที่สุด นับแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2552 ซึ่งเป็นวันประสบอันตรายจนถึงวันที่ได้รับเงินทดแทนเป็นเวลากว่า 9 ปี 8 เดือน 29 วัน อันเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก
เกี่ยวกับเรื่องนี้ มูลนิธิพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) เห็นว่าการที่สำนักงานประกันสังคมยังคงปฏิเสธไม่ให้แรงงานข้ามชาติบางประเภทสามารถรับเงินทดแทนการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากประสบอุบัติเหตุจากการทำงานจากกองทุนเงินทดแทนได้โดยตรง มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ ทำให้แรงงานข้ามชาติต้องประสบกับอุปสรรค ปัญหายุ่งยากและล่าช้าในการรับเงินทดแทนเป็นอย่างมาก จนหลายคนยกเลิกสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ดังนั้นสำนักงานประกันสังคม ควรยกเลิกกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆที่เป็นอุปสรรคและสร้างภาระในการเข้าถึงกองทุนเงินทดแทนของแรงงานข้ามชาติ โดยปฎิบัติตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ซึ่งศาลปกครองสูงสุดคดีระหว่างนายโจ (ไม่มีนามสกุล) กับพวก ผู้ฟ้องคดี กับ สำนักงานประกันสังคม(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.821/2558 http://hrdfoundation.org/?p=1407&lang=en ) และศาลฎีกา คดีระหว่าง นางหนุ่ม ไหมแสง โจทก์ กับ นายสุรินทร์ จิรวิศิษฏ์ ที่ 1 กับพวกรวม 13 คน นางหนุ่ม ไหมแสง แรงงานข้ามชาติชาวไทยใหญ่ สัญชาติพม่า (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15582/2558 http://hrdfoundation.org/?p=1514&lang=en) ที่ให้แรงงานข้ามชาติสามารถรับเงินจากกองทุนเงินทดแทนได้
ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
นางสาวจันจิรา จันทร์แผ้ว ทนายความ 065 741 5395 email: junfullmoon@gmail.com